Flyff Historic Sword

บทที่4 จัดระบบข้อมูลในเว็บ

ความจำเป็นในการจัดระบบข้อมูล

- ช่วยสร้างความเข้าใจ อธิบายและควบคุมการรับรู้ข้อมูลของผู้คนทำให้ผู้ใช้เข้ามาค้นหาข้อมูลได้อย่างสะดวกและตรงกับความต้องการเข้าใจสภานภาพและเพื่อตอบคำถามต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น

ความท้าทายในการจัดระบบข้อมูล

- ต้องจัดเตรียมข้อมูลให้ผู้ใช้เข้าถึงได้ง่ายหลักเบื้องต้นในการแบ่งกลุ่มคือการรวมสิ่งที่มีความสัมพันธ์ที่ต่างกันจะให้ผลการแบ่งกลุ่มที่ต่างกัน

ปัญหาความคลุมเครือของกลุ่มข้อมูล

- การแบ่งข้อมูลต้องอาศัยพื้นฐานทางด้านภาษาเข้ามาช่วยเพราะคำหนึางคำมีความหมายไดด้หลายอย่างในเหตุการณ์ต่างกัน
- การแบ่งหมวดหมู่ในเว็บมักจะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น หัวเรื่อง หรือข้อความดังนั้นจึงจำเป็นการยากที่จะทำให้ทุกคนเข้าใจระบบการจัดกลุ่มข้อมูลที่เราได้ออกแบบไว้

การจัดระบบข้อมูลในเว็บไซต์

เนื่องจากโครงสร้างข้อมูลมูลมีความสัมพันธ์กับระบบเนวิเกชันดังนั้นการจัดระบบข้อมูลประกอบด้วย
1.แบบแผนระบบข้อมูล(Organizational Schemes)
   กำหนดลักษณะพื้นฐานของข้อมูลภายในกลุ่ม
2. โครงสร้างระบบ(Organizational Structure)
กำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มข้อมูล

แบบแผนระบบข้อมูล(Organizational Schemes)

คือการกำหนดลักษณะพื้นฐานของข้อมูลภายในกลุ่มเดียวกัน

1. แบบแผนระบบข้อมูลแบบแน่นอน

ระบบข้อมูลรูปแบบนี้ได้แก่ ระบบข้อมูลตามตัวอักษร ระบบข้อมูลตามลำดับเวลา หรือตามพื้นที่ลักษณะเด่นของแบบแผนประเภทนี้คือความง่ายต่อการออกแบบและดูแล ปัญหาคือ ผู้ใช้ต้องรู้ชื่อหรือรายละเอียดของสิ่งที่ต้องการค้นหา มิฉะนั้นก็จะหาไม่เจอ

2.แบบแผนระบบข้อมูลแบบไม่แน่นอน

ระบบข้อมูลแบบนี้มีการรวมข้อมูลตามลักษณะที่คล้ายหรือใกล้เคียงกันดังนั้นกระบวนการในการค้นหาข้อมูลประเภทนี้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้รายละเอียดของสิ่งที่ค้นหาเพิ่มขึ้นได้ตามจำนวนครั้งที่เราค้นหา เพราะผู้ใช้บางคนไม่รู้แน่ชัดถึงสิ่งที่กำลังค้นหาหรือรู้เพียงบางส่วนแต่ยังไม่แน่ใจ

3.แบบแผนระบบข้อมูลแบบผสม

การใช้แบบแผนใดแบบแผนหนึ่งจะทำให้เข้าใจง่ายและเร็วแต่บางครั้งจำเป็นต้องมีการผสมแบบแผนเหล่านั้นเพราะเป็นเรื่องค่อนข้างยากที่จะตัดสินใจใช้แบบเดียวกับข้อมูลที่มีอยู่หลากหลายวิธีที่จะช่วยให้ผู้ใช้ยังคงเข้าใจรูปแบบที่แตกต่างกันคือการแยกส่วนการนำเสนอของแบบแผนที่ต่างกันให้อยู่คนละที่และทำให้มีลักษณะที่ต่างกัน

โครงสร้างระบบข้อมูลในเว็บไซต์

โครงสร้างข้อมูลคือรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มข้อมูลระบบข้อมูลที่มีโครงสร้างดีจะช่วยเพิ่มความชัดเจนให้กับเนื้อหาโครงสร้างหลักของระบบข้อมูลมีด้วยกัน 3 รูปแบบ

1.โครงสร้างระบบข้อมูลแบบลำดับชั้น

โครงสร้างแบบนี้เหมาะกับข้อมุลบนเว็บ เพราะในทุกเว็บจะเริ่มจากหน้าโฮมเพจก่อนเสมอ

หลักการออกแบบโครสร้างระบบข้อมูลแบบลำดับชั้น

1.แต่ละกลุ่มควรแยกจากกันอย่างชัดเจน
2.พิจารณาถึงความกว้างและลึกของโครงสร้างข้อมูลความกว้างคือจำนวนรายการที่มีอยู่ในแต่ละชั้นข้อมูลความลึกคือจำนวนชั้นของข้อมูล
จากการศึกษาความกว้างของโครงสร้างระบบข้อมูลควรมีจำนวน 7 บวกลบ 2 ในเมนูที่มีจำนวนรายการมากว่า 10 จะสร้างความรู้สึกว่ามากเกินไปส่วนความลึกไม่ควรเกิน 4-5 ชั้น เพราะจะทำให้ผู้ใช้อาจหมดหวังและเลิกล้มความตั้งใจได้



2.โครงสร้างระบบข้อมูลแบบไฮเปอร์เท็กซ์

เป็นโครงสร้างระบบข้อมุลที่มีลักษณะคล้ายเครือข่ายโรงใยโครงสร้างระบบนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือรายการหรือกลุ่มข้อมูลที่ถูกลิงค์ กับลิงค์ที่เชื่อมโยงข้อมูลเหล่านั้นโครงสร้างนี้มีความยืดหยุ่นสูงเพราะไม่จำเป็นต้องตามลำดับชั้นของข้อมูลจึงเป็นไปได้ง่ายที่เราจะเชื่อมโยงซับซ้อนเกินจนทำให้ผู้ใช้สับสนส่วนใหญ่จึงมักนำระบบนี้มาใช้เป็นส่วนเสริมให้กับโครงสร้างข้อมูลแบบลำดับชั้น



3.โครงสร้างข้อมูลแบบฐานข้อมูล

โครงสร้างแบบนี้มักนิยมใช้กับเว็บขนาดใหญ่การนำระบบฐานข้อมูลมาใช้ในเว็บจะช่วยเพิ่มความสามารถในการค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องแต่เป็นเรื่องยกาที่จะเอาข้อมูลทั้งหมดไม่ว่ารูป เนื้อหา ลิงค์ มาไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน ดังนั้นระบบฐานข้อมูลจึงมักใช้ในบางส่วนของเว็บที่มีกลุ่มข้อมูลประเภทเดียวกันเช่น ข่าวย้อนหลัง รายชื่อสมาชิก ข้อมูลสินค้าเป็นต้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น